วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ ได้ประกาศจัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม
พ.ศ.2527 ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสารพัดช่างเพชรบูรณ์ ซึ่งใช้สถานที่ตั้งเดิมของโรงเรียนการช่างเพชรบูรณ์
ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ อยู่บริเวณถนนนิกรบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
สภาพโดยทั่วไปขณะนั้นโรงเรียนสารพัดช่างเพชรบูรณ์เต็มไปด้วยอาคารเก่าที่มีสภาพทรุดโทรม
เนื่องจากเป็นสถานที่ปฏิบัติงานเดิมของโรงเรียนการช่างเพชรบูรณ์ ทั้งยังมีส่วนราชการอื่นๆ
อีกหลายหน่วยงานใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการเป็นเวลานาน
- พ.ศ.2527 ได้ก่อสร้างศาลพระภูมิเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการปฏิบัติงาน
- พ.ศ.2528 ได้ปรับปรุงพัฒนาอาคารเรียน อาคารไม้โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหน่วยงานส่วนราชการต่างๆ
อาทิ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์ วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์
และวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น
- พ.ศ.2529 โรงเรียนสารพัดช่างเพชรบูรณ์ ได้เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกด้านการฝึกวิชาชีพระยะสั้น
จำนวน 9 รายวิชา จำนวนนักศึกษาขณะนั้น 332 คน
- พ.ศ.2532 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนปฏิบัติงาน 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง เพื่อให้ครู อาจารย์
นักเรียน นักศึกษาใช้เรียน และ ฝึกปฏิบัติงาน
- พ.ศ.2534 ได้รับการพัฒนาปรับปรุงและยกฐานะจากโรงเรียนสารพัดช่างเพชรบูรณ์ เป็น วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2534
- พ.ศ.2537 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนปฏิบัติงาน 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง
- พ.ศ.2539 ได้ก่อสร้างอาคารโรงฝึกงาน 4 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 4,000 ตารางเมตร เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาใช้ฝึกปฏิบัติงาน
ด้านช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า และช่างอิเล็กทรอนิกส์
- พ.ศ.2540 ได้ก่อสร้างหอพระพุทธรูป และหอพระวิษณุกรรม เพื่อประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพบูชาเป็นขวัญกำลังใจ
ในการปฏิบัติงาน
- พ.ศ.2541 ได้ก่อสร้างโรงอาหารเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาใช้พักรับประทานอาหาร , ได้ก่อสร้างสนามบาสเก็ตบอลเพื่อให้
นักเรียนนักศึกษาใช้ออกกำลังกายผ่อนคลายความตึงเครียด และ ได้ก่อสร้างเสาธงชาติ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา
ใช้เข้าแถวทำกิจกรรมหน้าเสาธง
รายนามผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ มีดังนี้
1. นายชูเกียรติ เขียนประสิทธิ์ พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2540
2. นายไพศาล จริตพจน์ พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2544
3. นายเปี่ยมศักดิ์ จารึกสมาน พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2546
4. นายศักดา ถาวรพจน์ พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2553
5. นายกาญจนสิทธิ์ กุลวงศ์ พ.ศ. 2553 – 2557
6. นายจักรภพ เนวะมาตย์ พ.ศ. 2557 – 2558
7. นายสถาพร โพธิ์หวี พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน
ขนาดและที่ตั้ง
ปัจจุบันวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่รวมทั้งหมด ๕ ไร่ ๓ งาน ๕๒ ตารางวา
ตั้งอยู่เลขที่ ๖๐ ถนนนิกรบำรุง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ๖๗๐๐๐ โทรศัพท์
(๐-๕๖๗๒-๐๓๙๕) โทรสาร (๐-๕๖๗๒-๑๕๒๔) ต่อ ๑๒๔
ปรัชญาของวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์
“อาชีพสู่ประชา พัฒนาสังคม อบรมคุณธรรม” วิสัยทัศน์ ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้ สู่วิชาชีพ
พันธกิจ
๑. การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
๒. จัดการเรียนโดยใช้เทคโนโลยีที่มันสมัยในการถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประกอบวิชาชีพให้ทันต่อสถานการณ์
๓. จัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ
อัตลักษณ์
ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณธรรมในการประกอบอาชีพและสามารถศึกษาด้วยตนเองตลอดชีวิต
เอกลักษณ์
สถานศึกษาสร้างผู้ประกอบการมีคุณภาพอาชีพเสริมสวย
สีประจำสถานศึกษา
ฟ้า, แดง
ต้นไม้ประจำสถานศึกษา
ต้นนนทรี
ประเภทและอัตราการเก็บค่าใช้จ่ายในการเรียน
ประเภทเงินบำรุงการศึกษา
|
อัตราการเก็บเงินตามหลักสูตร (บาท)
|
ปวช. ปกติ
|
ปวส.
|
ค่าคู่มือนักเรียน นักศึกษา
|
30
|
30
|
ค่าสมัครหรือค่าสมัครสอบเข้าเรียน
|
-
|
50
|
ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน นักศึกษา
|
-
|
100
|
ค่าลงทะเบียนรายวิชาภาคเรียนปกติ หน่วยกิตละ
|
-
|
50
|
ค่าลงทะเบียนรายวิชาฤดูร้อน หน่วยกิตละ
|
200
|
250
|
ค่าวัสดุฝึกและหรืออุปกรณ์การศึกษาภาคปฏิบัติ หน่วยกิตละ
|
-
|
50
|
ค่าลงทะเบียนรายวิชาเพื่อการประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ หน่วยกิตละ
|
250
|
250
|
ค่าลงทะเบียนเพื่อรักษาสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา ภาคเรียนละ
|
-
|
100
|
ค่าปรับการลงทะเบียนรายวิชาช้ากว่ากำหนด ภาคเรียนละ
|
-
|
50
|
ค่าคืนสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา ครั้งละ
|
100
|
100
|
ค่าทำบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา ครั้งละ
|
10
|
10
|
ค่าออกใบรับรอง ใบรายงานต่างๆ (ยกเว้นชุดแรก) ชุดละ
|
-
|
20
|
ค่าบำรุงสุขภาพหรือห้องพยาบาล ภาคเรียนละ
|
-
|
50
|
ค่าบำรุงห้องสมุด ภาคเรียนละ
|
-
|
50
|
หมายเหตุ :- ระดับชั้น ปวส. ค่าลงทะเบียนรายวิชาหน่วยกิตละ 100 บาท
ที่มา :- ประกาศวิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์ เรื่อง กำหนดการเก็บเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษา